วันจันทร์ที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2559

สรุปบทที่5 ฟังก์ชันการรับและแสดงผลและฟังก์ชันทางคณิตศาสตร์

สรุปบทที่5 ฟังก์ชันการรับและแสดงผลและฟังก์ชันทางคณิตศาสตร์











 



        ฟังก์ชัน printf() เป็นฟังก์ชันที่ใช้สำหรับแสดงผลข้อมูล ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลที่เป็นตัวอักขระ ข้อความ หรือค่าแปร
        ฟังก์ชัน scanf() เป็นฟังก์ชันที่ใช้สำหรับรับค่าข้อมูลจากทางแป้นพิมพ์ เพื่อจัดเก็บไว้ในตัวแปร
ทั้งฟังก์ชัน printf()และscanf() จะต้องกำหนดรหัสรูปแบบข้อมูลให้สัมพันธ์กับชนิดข้อมูลของตัวแปร ซึ่งรายละเอียดดังนี้
        ฟังก์ชัน getchar() เป็นฟังก์ชันที่นำมาสำหรับค่าตัวอักษรหรืออักขระ 1 ตัว โดยค่าที่ป้อนลงไป จะแสดงให้เห็นทางจอภาพ และจะต้องเคาะ Enter เพื่อแสดงถึงการสิ้นสุดการป้อนข้อมูล
        

      ฟังก์ชัน putchar() เป็นฟังก์ชันที่นำมาใช้เพื่อพิมพ์ค่าตัวแปรอักขระ ที่ถูกป้อนด้วยฟังก์ชัน getchar() รวมถึงการสั่งพิมพ์รหัสพิเศษ (Escape Sequence)
ในบางครั้ง รหัส Enter ที่เราได้เคาะเข้าไปเพื่อยืนยันการป้อนข้อมูลจากฟังก์ชัน scanf() ได้ข้ำแรบกวนการทำงานของคำสั่งบางตัว มำให้ข้ามการรับค่าตัวแปรตัดถัดไปซึ่งเหตุการณ์ดังกล่าวสามารถแก้ไขได้ด้วยการเคลียร์ บัฟเฟอร์ในหน่วยความจำออกไปเสียก่อนด้วยฟังก์ชัน fflush(stdin)
       ฟังก์ชัน getch() ใช้สำหรับรอรับค่าแป้นพิมพ์โดยไม่ต้องยืนยันด้วยการเคาะปุ่ม Enter และอักขระที่ป้อนเข้าไป จะไม่แสดงออกมาให้เห็นทางจอภาพ
        ฟังก์ชัน getche() จะคล้ายกับฟังก์ชัน getch() แตกต่างกันเพียงแสดงอักขระที่ป้อนเข้าไปออกมาให้เห็นทางจอภาพ
        ฟังก์ชัน clrscr() เป็นฟังก์ชันที่ใช้สำหรับล้างจอภาพ
        ฟังก์ชัน gotoxy() เป็นฟังก์ชันที่ใช้สำหรับกำหนดตำแหน่งเคอร์เซอร์บนจอภาพ บนหน้าจอแบบเท็กซ์โหมด
 ทั้งฟังก์ชัน printf(), scanf(), getchar() และ putchar() จะถูกประกาศใช้งานอยู่ใน
เฮดเดอร์ไฟล์<stdio.h>
 ทั้งฟังก์ชัน getch(), getche(), clrscr() และ gotoxy() จะถูกประกาศใช้งานอยู่ในเฮดเดอร์ไฟล์<conio.h>
ทั้งฟังก์ชัน pow(), sqrt(), cos(), sine(), tan(), ceil() และ floor() เป็นต้นจะถูกประกาศใช้งานอยู่ในเฮดเดอร์ไฟล์<math.h>


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น