วันจันทร์ที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2559

สรุปบทที่5 ฟังก์ชันการรับและแสดงผลและฟังก์ชันทางคณิตศาสตร์

สรุปบทที่5 ฟังก์ชันการรับและแสดงผลและฟังก์ชันทางคณิตศาสตร์











 



        ฟังก์ชัน printf() เป็นฟังก์ชันที่ใช้สำหรับแสดงผลข้อมูล ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลที่เป็นตัวอักขระ ข้อความ หรือค่าแปร
        ฟังก์ชัน scanf() เป็นฟังก์ชันที่ใช้สำหรับรับค่าข้อมูลจากทางแป้นพิมพ์ เพื่อจัดเก็บไว้ในตัวแปร
ทั้งฟังก์ชัน printf()และscanf() จะต้องกำหนดรหัสรูปแบบข้อมูลให้สัมพันธ์กับชนิดข้อมูลของตัวแปร ซึ่งรายละเอียดดังนี้
        ฟังก์ชัน getchar() เป็นฟังก์ชันที่นำมาสำหรับค่าตัวอักษรหรืออักขระ 1 ตัว โดยค่าที่ป้อนลงไป จะแสดงให้เห็นทางจอภาพ และจะต้องเคาะ Enter เพื่อแสดงถึงการสิ้นสุดการป้อนข้อมูล
        

      ฟังก์ชัน putchar() เป็นฟังก์ชันที่นำมาใช้เพื่อพิมพ์ค่าตัวแปรอักขระ ที่ถูกป้อนด้วยฟังก์ชัน getchar() รวมถึงการสั่งพิมพ์รหัสพิเศษ (Escape Sequence)
ในบางครั้ง รหัส Enter ที่เราได้เคาะเข้าไปเพื่อยืนยันการป้อนข้อมูลจากฟังก์ชัน scanf() ได้ข้ำแรบกวนการทำงานของคำสั่งบางตัว มำให้ข้ามการรับค่าตัวแปรตัดถัดไปซึ่งเหตุการณ์ดังกล่าวสามารถแก้ไขได้ด้วยการเคลียร์ บัฟเฟอร์ในหน่วยความจำออกไปเสียก่อนด้วยฟังก์ชัน fflush(stdin)
       ฟังก์ชัน getch() ใช้สำหรับรอรับค่าแป้นพิมพ์โดยไม่ต้องยืนยันด้วยการเคาะปุ่ม Enter และอักขระที่ป้อนเข้าไป จะไม่แสดงออกมาให้เห็นทางจอภาพ
        ฟังก์ชัน getche() จะคล้ายกับฟังก์ชัน getch() แตกต่างกันเพียงแสดงอักขระที่ป้อนเข้าไปออกมาให้เห็นทางจอภาพ
        ฟังก์ชัน clrscr() เป็นฟังก์ชันที่ใช้สำหรับล้างจอภาพ
        ฟังก์ชัน gotoxy() เป็นฟังก์ชันที่ใช้สำหรับกำหนดตำแหน่งเคอร์เซอร์บนจอภาพ บนหน้าจอแบบเท็กซ์โหมด
 ทั้งฟังก์ชัน printf(), scanf(), getchar() และ putchar() จะถูกประกาศใช้งานอยู่ใน
เฮดเดอร์ไฟล์<stdio.h>
 ทั้งฟังก์ชัน getch(), getche(), clrscr() และ gotoxy() จะถูกประกาศใช้งานอยู่ในเฮดเดอร์ไฟล์<conio.h>
ทั้งฟังก์ชัน pow(), sqrt(), cos(), sine(), tan(), ceil() และ floor() เป็นต้นจะถูกประกาศใช้งานอยู่ในเฮดเดอร์ไฟล์<math.h>


สรุปบทที่ 4 นิพจน์และตัวดำเนินการ

สรุปบทที่ 4 นิพจน์และตัวดำเนินการ
                   
   นิพจน์ (Expression)
   นิพจน์ในที่นี้หมายถึง นิพจน์ทาง  คณิตศาสตร์ ซึ่งสามารถพบเห็นได้จากสูตรการคำนวณตัวเลขต่างๆ ดังนั้น นิพจน์
จึงประกอบด้วย ตัวแปร ค่าคงที่ และตัวดำเนินการทางคณิตศาสตร์มาประกอบรวมกัน
   จากนิพจน์คณิตศาสตร์ข้างต้น พบว่า ทั้ง and, score และ incomeจะเป็นตัวแปรที่ใช้เก็บผลลัพธ์จากการคำนวณ ส่วนนิพจน์ด้านขวาก็จะเป็นนิพจน์
แบบหลายตัวแปร ซึ่งสามารถมีได้ทั้งตัวแปรและค่าคงที่ รวมถึงตัวดำเนินการคณิตศาสตร์
  เช่น + - * / เป็นต้น ในการสร้างสูตรคำนวณค่าตัวเลข โดยเฉพาะสูตรคำนวณที่มีความซับซ้อน ต้องระมัดระวังในการจัด
ลำดับนิพจน์ เพื่อให้คอมพิวเตอร์
ประมวลผลอย่างถูกต้อง ทั้งนี้
ตัวดำเนินการต่างๆ ที่นำมาใช้เพื่อการคำนวณนั้น แต่ละตัวจะมีลำดับความสำคัญที่แตกต่างกัน
   

   ตัวดำเนินการ (Operators)
ในภาษาซี มีตัวดำเนินการหลากหลายชนิด แต่ในที่นี้กล่าวถึงตัวดำเนินการพื้น
ฐานที่สำคัญ ดังต่อไปนี้
  1. ตัวดำเนินการทางคณิตศาสตร์
  2. ตัวดำเนินการยูนารี
  3. ตัวดำเนินการเปรียบเทียบ
  4. ตัวดำเนินการตรรกะ
  5. ตัวดำเนินการกำหนดค่า
    แบบผสม
  6. ตัวดำเนินการเงื่อนไข
  
  1. ตัวดำเนินการทางคณิตศาสตร์
    จัดเป็นตัวดำเนินการพื้นฐาน ที่นำมาใช้เพื่อการคำนวณ เช่น บวก ลบ คูณ หาญ และ โมดูลัส (หาญเพื่อเอาเศษ)

  2. ตัวดำเนินการยูนารี
  ตัวดำเนินการยูนารี ตัวแรกที่กล่าวถึง คือ เครื่องหมายลบ ที่นำ
มาใช้นำหน้าค่าตัวเลข หรือนำหน้า ค่าตัวแปร ซึ่งจะส่งผลให้ค่าถูก
เปลี่ยนเป็นค่าติดลบโดยทันที เช่น 10,-x
 เป็นต้น



  
   3. ตัวดำเนินการเปรียบเทียบ
   ในภาษาซีจะมีตัวกำเนินการที่นำมาใช้เพื่อการเปรียบเทียบค่า



   
  4. ตัวดำเนินตรรกะ
   นอกจากตัวดำเนินการเปรียบเทียบแล้ว เรายังสามารถนำตัวดำเนิน
การตรรกะมาใช้ร่วมกันได้




   
  5. ตัวดำเนินการกำหนดค่า
        จากความรู้ที่ผ่านมา ได้เรียนรู้ถึงการกำหนดค่าให้กับตัวแปรมาบ้างแล้ว แต่ในภาษาซี ยังมีตัวดำเนินการค่าแบบผสม (Compound Assignment Operators) ซึ่งประกอบด้วย +=, -=, *=, /= และ %=
   
   
6. ตัวดำเนินการเงื่อนไข
   ตัวดำเนินการเงื่อนไข จะนำมาทดสอบค่านิพจน์ทางตรรกะ ว่าจริง
หรือเท็จ
 
   รูปแบบ
        expression 1  ?  expression 2  :  expression 3
โดยที่
  expression 1 หมายถึง นิพจน์เงื่อนไข
  expression 2 หมายถึง นิพจน์กรณีเป็นจริง
  expression 3 หมายถึง นิพจน์กรณีเป็นเท็จ
    
   ตัวดำเนินการกับลำดับความสำคัญ
ตัวดำเนินการแต่ละตัวจะมีลำดับ
ความสำคัญก่อนหลังที่แตกต่างกัน โดยการประมวลผลกระทำจากตัว
ดำเนินการที่มีลำดับความสำคัญสูงก่อน แต่ถ้ากรณีที่มีลำดับความ
สำคัญเท่ากัน ตามปกติจะกระทำ
กับตัวดำเนินการจากซ้ายไปขวา กล่าวคือ จะกระทำกับตัวดำเนินการ ที่พบก่อน
   

  



   การเปลี่ยนชนิดข้อมูล
ในภาษา C ยังมีตัวดำเนินการที่ เรียกว่า การแคสต์ (Casting) เพื่อแปลงชนิดข้อมูลจากชนิดหนึ่ง มาเป็นอีกชนิดหนึ่งได้ วิธีทำคือ ให้ระบุชนิดข้อมูลที่ต้องการภายใน   เครื่องหมายวงเล็บ หน้านิพจน์ที่
ต้องการ








สรุปบทที่ 3...องค์ประกอบของภาษาซี ตัวแปร และชนิดข้อมูล

สรุปบทที่ 3
เรื่อง  องค์ประกอบของภาษาซี ตัวแปร และชนิดข้อมูล
        
     ภาษาชีถูกพัฒนาขึ้นโดย เดนนิส ริตชี ที่ห้องปฏิบัติการเบลล์ ซึ่งมีต้นแบบมาจากภาษาบีที่อยู่บนรากฐานของภาษาบีซีพีแอล
         ทางสถาบัน ANSI ได้รับรองมาตรฐานภาษาซีขึ้นมา ภายใต้ชื่อ ANSI-C

 ปัจจุบันได้มีการพัฒนาภาษาซีให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นเป็นเวอร์ชั่นต่างๆ มากมายด้วยการนำมาพัฒนาต่อยอดเป็น C++ หรือ 

C# โดยได้เพิ่มชุดคำสั่งที่สนับสนุนการโปรแกรมเชิงวัตถุ และยังคงรองรับชุดคำสั่งมาตรฐานของภาษาซีดั้งเดิมอยู่ด้วย

ภาษาซีมีคุณสมบัติที่โดดเด่นกว่าภาษาระดับสูงทั่วไปในหลายๆ ด้านด้วยกัน คือ
    1.เป็นภาษาที่ไม่ขึ้นกับฮาร์ดแวร์และระบบปฏิบัติการ                   
    2.เป็นภาษาที่มีความยืดหยุ่นสูงมาก
    3.มีประสิทธิภาพสูง
    4.ความสามารถในด้านการโปรแกรมแบบโมดูล
    5.มีตัวแปรชนิดพอยน์เตอร์
6.ภาษาซีมองตัวอักษรตัวพิมพ์เล็กและตัวพิมพ์ใหญ่แตกต่างกัน ( Case Sensitive )

โครงสร้างโปรแกรมในภาษาซี แบ่งออกเป็นส่วนต่างๆ ดังนี้
    1. ตัวประมวลผลก่อน ( Preprocessor Directive )
    2.ฟังก์ชันหลัก
    3.ชุดคำสั่ง
    4.คำอธิบายโปรแกรม
      กฎเกณฑ์ที่ต้องรู้ในการเริ่มต้นฝึกหัดเขียนโปรแกรมภาษาซี คือ
   1.ที่ส่วนหัวโปรแกรม จะต้องกำหนดตัวประมวลผลก่อนเสมอ
   2.ชุดคำสั่งในภาษาซี จะใช้อักษรตัวพิมพ์เล็กทั้งหมด
   3.ตัวแปรที่ใช้งาน ต้องถูกประกาศชนิดข้อมูลไว้เสมอ
   4.ภายในโปรแกรม จะต้องมีอย่างน้อย 1 ฟังก์ชันเสมอ ซึ่งก็คือฟังก์ชัน  main() นั่นเอง
   5.สามารถใช้เครื่องหมายปีกกา {  เพื่อบอกจุดเริ่มต้นของชุดคำสั่ง และเครื่องหมายปีกกาปิด}
   6.เมื่อเขียนชุดคำสั่งเสร็จแล้วต้องจบด้วยเครื่องหมาย  ;
   7.สามารถอธิบายโปรแกรมตามความจำเป็นด้วยการใช้เครื่องหมาย/*…..*/หรือ //….
    ตัวแปร คือ ชื่อที่ตั้งขึ้นตามกฎการตั้งชื่อตัวแปร เพื่อนำมาใช้จัดเก็บข้อมูล และอ้างอิงใช้งานภายในโปรแกรม

     กฎเกณฑ์การตั้งตัวแปรในภาษาซี ประกอบด้วย
    1.สามรถใช้ตัวอักษร A ถึง Z หรือ a ถึง z รวมทั้งตัวเลข 0 ถึง 9 และเครื่องหมาย _( Underscore ) มาใช้เพื่อการตั้งชื่อตัวแปรได้ แต่มีเงื่อนไขว่า ห้ามใช้ตัวเลขนำหน้าชื่อตัวแปร ตัวอย่างเช่น 1digit ถือว่าผิด แต่ถ้าตั้งชื่อใหม่เป็น digit1 หรือ digit_1 ถือว่าถูกต้อง
    2.ชื่อตัวแปรสามารถมีความยาวได้ถึง 31 ตัวอักษร (กรณีเป็น ANSI-C )
    3.ชื่อตัวแปร จะต้องไม่ตรงกับคำสงวน ( RESERVEDWords )                            
นิดข้อมูลตัวอักษร เป็นชนิดข้อมูลที่จัดเก็บตัวอักษรหรือตัวอักขระเพียง 1 ตัวเท่านั้นกรณีที่ต้องการจัดเก็บตัวอักขระหลายๆ ตัว เราจะเรียกกลุ่มข้อความนี้ว่า สตริง (String )      
ชนิดข้อมูลแบบเลขจำนวนเต็ม หมายถึงค่าตัวเลขจำนวนเต็ม ไม่มีทศนิยม ซึ่งประกอบด้วย int และ long int แบบไม่มีทศนิยม นอกจากนี้ยังสามารถใช้คำเพิ่มเติมนำหน้าชนิดข้อมูลอย่าง short หรือ long ก็ได้
ชนิดข้อมูลแบบทศนิยม หรือเลขจำนวนจริง คือ ค่าตัวเลขที่สามารถมีจุดทศนิยม โดยชนิดข้อมูลนี้สามากำหนดขนาดความกว้างตามความต้องการ เช่น float, double หรือ long double
 ตัวแปรแบบภายใน  จะ ถูกประกาศใช้งานเฉพาะฟังก์ชันนั้นๆ ดังนั้น หากตัวแปรแบบภายในของและฟังก์ชัน มีการกำหนดชื่อตัวแปรเหมือนกัน จะถือว่าเป็นตัวแปรคนละตัว
 ตัวแปรแบบภายนอก  ถือเป็นตัวแปรสาธารณะที่ทุกๆ โปรแกรมย่อยหรือทุกๆ ฟังก์ชันสามารถใช้งานได้ โดยจะถูกประกาศไว้ภายนอกฟังก์ชัน